วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

หน่วยที่7การจักการข้อมูล

กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน๑.จำแนกประเภทของหน่วยข้อมูลได้
ตอบ ประกอบด้วยหน่วยที่เล็กที่สุดไปยังหน่วยที่ใหญ่ที่สุดตามลำดับต่อไปนี้
๑.๑ บิต คือ หน่วยข้อมูลฃที่เล็กที่สุด เลขฐานสองหนึ่งหลักซึ่งมีค่าเป็น 0 หรือ 1
๑.๒ อักขระ กลุ่มของบิตสามารถแทนค่าตัวอักษรได้ ในชุดอักขระ ASCII 1 ไบต์(8 บิต) แทนตัวอักษร 1 ตัว ๑.๓ ไบต์ กลุ่มของบิตที่มีขนาด ๘ บิต เท่ากับ ๑ ไบต์
๑.๔ ฟิลด์ เขตข้อมูลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มตัวอักษรที่แทนข้อเท็จจริง
๑.๕ เรกคอร์ด ประกอบด้วยฟิลด์ หลายๆฟิลด์ที่เกี่ยวข้องรวมกันเป็นข้อมูลแต่ละแถว
๑.๖ ไฟล์ ตารางที่เป็นกลุ่มของระเบียนที่มีโครงสร้างเดียวกัน
๑.๗ ฐานข้อมูล กลุ่มของตาราง (และความสัมพันธ์)

๒. อธิบายประเภทแฟ้มข้อมูลได้
ตอบ ประเภทของแฟ้มข้อมูล (File Type) เราสามารถจำแนกแฟ้มข้อมูลออกตามลักษณะของข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้และสามารถแบ่งแฟ้มข้อมูลออกเป็น ๕ ประเภท
๑. แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) เป็นแฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติ ลูกค้า (Customer master file) ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แฟ้มข้อมูลประวัติผู้จัดส่งสินค้า (Supplier master file) แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ (Inventory master file) แฟ้มข้อมูลบัญชี (Account master file) เป็นต้น ซึ่งแฟ้มข้อมูลหลักเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของระบบงานบัญชี (Account system)
๒. แฟ้มรายงาน คือแฟ้มข้อมูลที่ใช้สำหรับเก็บประเภทรายงาน ที่จัดเก็บในรูปแบบของไฟล์เอกสาร การจัดเก็บข้อมูลประเภทรายงานนั้นสามารถเนรียกดูผ่านทางจอภาพได้
๓.แฟ้มข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลง คือ แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดเก็บข้อมูลตามช่วงเวลาที่กำหนดแลฃะเป็นแฟ้มข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
๔.แฟ้มข้อมูลชั่วคราว คือ แฟ้มข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานที่จะไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อแฟ้มข้อมูลหลัก
๕. แฟ้มข้อมูลสำรอง คือการทำข้อมูลซ้ำข้อมูล ไฟล์ หรือโปรแกรมในสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ

๓.อธิบายลักษณะของการประมวลผลได้
ตอบ ลักษณะการประมวลผลแบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ
-การประมวลผลแบบกลุ่ม เป็นวิธีการประมวลผลซึ่งจะกำหนดช่วงเวลาในการรวบรวมข้อมูล เมื่อไดข้อมูลแล้วจึงนำข้อมูลไปประมวลผลรวมกัน
-การประมวลผลแบบทันที เป็นวิธีที่ต้องการผลลัพธ์ทันที วิธีนี้จะช่วยปรับปรุงข้อมูลให้ระบบเป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา
การเลือกลักษณะการประมวลผลข้อมูลแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการสารสนเทศในงานแต่ละงาน

๔.จำแนกความแตกต่างของโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภทได้
ตอบ โครงสร้างข้อมูลมี ๓ ประเภท มีความแตกต่างกันดังนี้
-โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับเป็นโครงสร้างที่สามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด จะถูกบันทึกแบบเรียงลำดับต่อเนื่อง เวลาดูข้อมูต้องดูตั้งแต่หน้าแรก
-โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม เป็นรูปแบบโครงสร้างที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง โดยไม่ต้องเสียเวลาอ่านข้อมูลตั้งแต่ตำแหน่งแรก
-โครงสร้างข้อมูลแบบลำดับดรรชนี ก็คือจะเป็นการรวมเอาความสามารถของโครงสร้างข้อมูลสองอันแรกรวมเข้าด้วยกัน
โดยวิธีการหาข้อมูลจะนำคีย์ฟิลด์มาค้นหาจาก ดัชนีบางส่วนที่เก็บค่าต่ำสุด หรือค่าสูงสุดแต่ละบล็อกไว้

๕.จำแนกความแตกต่างระหว่างการประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูลกับระบบฐานข้อมูลได้ตอบ การประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูลจะมีลักษณะการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายในแต่ละหน่วยงานที่นำคอมพิวเตอร์มาช่วยสำหรับประมวลผลการทำงานด้านต่างๆ แต่ ระบบฐานข้อมูล เป็นการจัดเก็บข้อมูลแบบศูนย์กลาง เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับการประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูล

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ 
๓.ให้นักเรียนนำเสนอถึงเหตุผลที่ต้องทำการสำรองข้อมูล และอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสำรองโดยอุปกรณ์ใดบ้าง และปัจจัยในการเลือกใช้อุปกรณ์ชนิดใดสำหรับสำรองข้อมูลตอบ ในการที่เราต้องทำข้อมูลสำรองนั้นเพราะ เป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับข้อมูล โดยที่สำรองข้อมูลใส่อุปกรณ์สำรองข้อมูล เมื่อข้อมูลเหล่านั้นเสียหายหรือสูญเสีย ก็สามารถนำข้อมูลสำรองมาใช้แทนได้
โดยอุปกรณ์ที่ใช้สำรองข้อมูลมาใช้ คือ แผ่นซีดี ฮาร์ดดิสก์สำหรับพกพา

หน่วยที่6ระบบประฎิบัติการ

กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน๑.บอกความหมายและหน้าที่ของระบบปฏิบัติการได้ตอบ ระบบปฏิบัติการหมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประสานงานระหว่างการทำงานของซอฟต์แวร์ต่างๆและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใชสามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ มี ๓ หน้าที่หลัก
๑.การติดต่อกับผู้ใช้
การบูตเครื่องเป็นกระบวนการแรก เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์เริ่มต้นทำงานเป็นขั้นตอนการโหลดโปรแกรมระบบปฏิบัติการไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแรม ดังนั้น โปรแกรมหรือชุดคำสั่งแรกที่จะถูกติดตั้งลงไปในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์คือ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ มิเช่นนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะไมสามารถเปิดใช้งานได้ การบูตเครื่องประกอบด้วย ๒ สถานะคือ
- cold boot คือการเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้งานขณะที่เครื่องคอมฯนั้นยังปิดอยู่
- warm boot คือการเปิดเครื่องคอมฯนั้นขึ้นมาใช้งานขณะที่เครื่องคอมนั้นเปิดใช้งานอยู่
๑.๑ ประเภทคอมมานดืไลน์ เป็นลักษณะการติดต่อกับผู้ใช้ โดยให้ผู้ใช้ป้อนคำสั่งเป็นตัวอักษรที่รูปแบบของคำสั่งลงไปเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการที่ละบรรทัดคำสั่ง
๑.๒ ประเภทกราฟิก เป็นการใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ มาใช้ในการสั่งงาน รูปแบบของระบบนี้ผู้ใช้ไม่ต้องจดจำคำสั่งเพียงเลือกรายการคำสั่ง ผ่านทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล
๒.การควบคุมอุปกรณ์และการทำงานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์เชื่อมต่ออีกหลายชนิดที่นำมาใช้ร่วมกัน อุปกรณ์เหล่านี้มีความแตกต่างกันดังนั้นระบบปฏิบัติการมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของโปรแกรมและอุปกรณ์ต่างๆช่วยจัดการให้ผู้ใช้สามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ได้
๓.การจัดสรรทรัพยากรภายในระบบ
ระบบปฏิบัติการช่วยจักสรรทรัพยากรระบบที่มีเหลืออยู่อย่างจำกัดให้สามารถทำงานหลายๆงานได้ ทรัพยากรหลักๆ ได้แก่ ทรัพยากรด้านโพรเซสเซอร์ ด้านหน่วยความจำ ด้านอุปกรณ์นำเข้า/แสดงผล และข้อมูล

๒. จำแนกประเภทของระบบปฏิบัติการได้ตอบ ประเภทของระบบปฏิบัติการ อาจแบ่งได้ออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๑. ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแก่เพียงผู้เดียว ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ เช่น DOS(Disk Operating System) Windows XP,Windows Vista เป็นต้น
๒.ระบบปฏิบัติการเครือข่ายเป็นระบบปฏิบัติการที่รองรับการทำงานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบการทำงานแบบ multi-user ใช้สำหรับการปฏิบัติงานภายในองค์กร หรือหน่วยงานทัวๆไป โดยการติดตั้งระบบปฏิบัติการชนิดนี้จะใช้สำหรับระบบเครือข่ายแบบไคลแอนท์เซิร์ฟเวอร์ ติดตั้งระบบปฏิบัตการไว้ที่เครื่องเซร์ฟเวอร์ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูลส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้แต่ละคนภายในระบบ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ เช่น Unix Linux, Windows Server Solaris เป็นต้น

๓.ระบบปฏิบัติการแบบฝัง เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ชนิดพกพาทั่วๆไป อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณืสื่อสาร บันทึกข้อมูล ดูหนัง ฟังเพลงและ เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ เช่น Pocket PC OS, Plam OS
ตอบ แบ่งเป็น ๕ องค์ประกอบดังนี้
๑.การจัดการไฟล์ เป็นการเก็บข้อมูลในสื่อบันทึกข้อมูลชนิดต่างๆ การจัดเก็บข้อมูลใดๆจะต้องระบุชื่อไฟล์และส่วนขยาย
-ชื่อไฟล์ ในยุคแรกๆ นั้นจะใช้ระบบปฏิบัตการประเภทคอมมานด์ไลน์ การตั้งชื่อไฟล์จะใช้เฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ในปัจจุบันจะสามารถตั้งชื่อไฟล์ได้มากถึง ๒๕๖ อักขระ สามารถใช้ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
-ส่วนขยาย เป็นส่วนที่ช่วยให้ระบบปฏิบัติการทราบได้ว่าเป็นไฟล์ชนิดใดต้องใช้โปรแกรมใดในการเปิดอ่านข้อมูลเหล่านั้น ส่วนขยายจะประกอบด้วยอักษรไม่เกิน ๔ ตัว
๒.การจัดการหน่วยความจำ การประมวลผลข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์จะต้องอ่านข้อมูลเหล่านั้นไปไว้ยังหน่วยความจำหลักประเภทแรก ก่อนที่จะทำการประมวลผล เมื่อมีข้อมูลปริมาณมากหรือมีการทำงานหลายๆโปรแกรมพร้อมกัน ทำให้พื้นที่ของหน่วยความจำแรมไม่เพียงพอสำหรับการประมวลผลข้อมูล ระบบปฏิบัติการจึงสร้างหน่วยความจำเสมือน โดยใช้เนื้อที่จากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
๓.การจัดการอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผลข้อมูล เมื่อนำอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้องทำการติดตั้งโปรแกรมไดรเวอร์ เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชนิดโดยเฉพาะ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ต่างๆเหล่านั้นได้ เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้มีมากมายหลายรุ่น จึงมีวิธีสั่งงานที่แตกต่างกัน
๔.การจักการกับหน่วยประมวลผลกลาง ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆงานพร้อมกันได้ที่เรียกว่า "multi-tasking" แต่ในความจริงแล้ว ซีพียูสามารถทำงานได้ครั้งละคำสั่งเท่านั้น ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องจัดแบ่งเวลาของซีพียู เพื่อประมวลผลงานต่างๆเหล่านั้น โดยทำงานสลับไปมาระหว่างงานแต่ละงานได้ แต่เนื่องจากซีพียูสามารถประมวลผลได้เร็ว จึงทำให้ผู้ใช้มองเหมือนว่าซีพียูสามารถทำงานได้หลายๆงานได้พร้อมกัน การแบ่งเวลาในการประมวลผลข้อมูลจาก ซีพียู ออกเป็นส่วนๆเพื่อให้ผู้ใช้แต่ละคน
๕.การจัดการความปลอดภัยของระบบ ภายในระบบปฏิบัติการมีการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลและเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ในระดับหนึ่งโดยการกำหนดขั้นตอนการ log on เพื่อตรวจสอบสิทธิของผู้ที่เข้าไปใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้รหัสผ่าน เมื่อมีผู้ใช้ขอ log on เข้าไปในระบบ ผู้ใช้จะต้องพิมพ์รหัสผ่านเพื่อให้ระบบปฏิบัติการนำไปตรวจสอบรหัสผ่านที่ได้ทำการบันทึกไว้กับระบบ ถ้าถูกต้องระบบจะอนุญาตให้บุคคลคนนั้นเข้าไปใช้งานได้

๔.บอกระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งานในปัจจุบันได้
ตอบ
๑.ดอส > เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมและรู้จักกันดีสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในอดีต การทำงานจะใช้วิธีการพิมพ์ชุดคำสั่งแบบคอมมานไลน์
๒.วินโดวส์ (windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่แบางการทำงานออกเป็นส่วนๆและการปฏิบัติงานของ windows ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกันได้ โดยใช้รูปแบบคำสั่งแบบกราฟิก โดยใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด
๓.ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่เหมาะสำหรับผู้มีความรู้ ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดีและระบบปฏิบัติการ unix เป็นระบบที่เป็นเทคโนโลยีเปิด เป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับระบบใดระบบหนึ่ง
๔.ลินุกส์ (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์สาวนบุคคลได้ เป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์ประเภทแจกฟรี
๕.แมคอินทอช (Macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แมคอินทอชเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้งานเฉพาะด้าน ได้แก่ งานด้านกราฟิก การออกแบบ และสิ่งพิมพ์

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้๑.ในระบบปฏิบัติการ window 7 มีระบบ License ทั้งในแบบ FPP และ OEM License ทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และถ้านักเรียนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานภายในบ้านนักเรียนจะต้องใช้รูปแบบ License แบบใด
ตอบ FPP เป็นระบบที่เหมาะสำหรับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ส่วนบุคคล โดยอาจจะต้องมีความรู้ในการติดตั้งเองสักหน่อย แต่ก็มีความคล่องตัวในการย้ายเครื่องได้มากกว่า ส่วน OEM จะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อเครื่องใหม่ องค์กรหรือห้างร้าน ที่ไม่ต้องการยุ่งยาก กับการใช้ซอฟต์แวร์ในการติดตั้งและหาไดรเวอร์ต่างๆ โดยจะติดตั้งมาให้พร้อมใช้งาน
ในการเลือกซื้อคิดว่าซื้อแบบ OEM ดีกว่า เพราะไม่ต้องมาลง driver เอง

๒.ให้นักเรียนเสนอความคิดว่า การเก็บค่าลิขสิทธิ์ของระบบปฏิบัติการWindows จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อผู้บริโภค และมีวิธีหลีกเลี่ยงค่าลิขสิทธิ์หรือไม่ อย่างไรตอบ อาจทำให้ผู้บริโภคบางคนบางกลุ่มนั้นเกิดความไม่พอใจ เพราะอาจจะต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แพง แต่ก็จำเป็นที่จะต้องเสียค่าลิขสิทธ์เพื่อที่จะสามารถนำ windows มาใช้งานได้ ถ้าไม่ยอมเสียจะไม่สามารถนำมาใช้งานได้ วิธีหลีกเลี่ยง ก็คงจะต้องเป็นการแอบเอามาลงซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีและผิดกฎหมายด้วย

๓.ให้นักเรียนนำเสนอความคิดเห็นว่า การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์กับการพัฒนาซอฟต์แวร์ของคนไทย เมื่อในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ทำหน้าดูแลพัฒนาซอฟต์แวร์ในสายพันธุ์ไทย เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนไทยได้พัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้เองแต่ยังมีปัญหาเรื่องของการเผยแพร่และนำมาใช้งานอย่างจริงจัง นักเรียนคิดว่าจะมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้คนไทยมาร่วมกันใช้ซอฟต์แวร์ที่ผลิตโดยคนไทย และจะเกิดประโยชน์อย่างไรกับประเทศในอนาคต
ตอบ เราควรที่จะสนับสนุนซอฟต์แวร์ที่คนไทยได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อคนไทยเอง ซึ่งการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้นก็เพื่อที่นำไปพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าซอฟต์แวร์ที่คนไทยพัฒนาขึ้นนั้น ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก การนำมาใช้งานก็ยังไม่คุ้นเคย เราควรที่หันมาใช้ซอฟต์แวร์ที่คนไทยร่วมกันพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจผู้พัฒนาซอฟแวร์ไทย และเป็นการส่งเสริมการ

หน่วยที่5

กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน

๑. บอกความหมายและประเภทของซอฟแวร์ได้
ตอบ 
ซอฟต์แวร์หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ และ ซอฟต์แวร์ประยุกต์
๑.ซอฟต์แวร์ระบบ คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑.๑ระบบปฏิบัติการ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประสานงานระหว่างซอฟต์แวร์ต่างๆ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
- ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ที่ใช้กับเครื่องคอมฯ ที่ใช้บริการคนเดียว
- ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ใช้รองรับการทำงานของระบบบคอมพิวเตอร์
- ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ใช้กับคอมฯ ชนิดพกพาทั่วๆไป
๑.๒ โปรแกรมอรรถประโยชน์ คือ โปรแกรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งช่วยดูแลความปลอดภัยของข้อมูล และเครื่องคอมพิวเตอร์
๒.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านต่างๆ ตามจุดประสงค์ของผู้ใช้การพัมนาโปรแกรมสำหรับนำไปใช้ในการทำงานแบ่งเป็น ๒ ประเภท
๒.๑ โปรแกรมสำหรับงานเฉพาะด้าน เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับการใช้งานเฉพาะหน่วยงาน และพัฒนาตามความต้องการของหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน
๒.๒ โปรแกรมสำเร็จรูป เป็นโปรแกรมในเชิงพาณิชย์ที่พัฒนาขึ้นมาโดยไม่ได้เจาะจงหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง

๒.อธิบายภาษาคอมพิวเตอร์ได้
ตอบ ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาใดๆ ที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่นๆ ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น HTML เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรม หรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรม

ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ ภาษาระดับสูง (high level) และภาษาระดับต่ำ (low level) ภาษาระดับสูงถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่ายและสะดวกสบายมากกว่าภาษาระดับต่ำ โปรแกรมที่เขียนถูกต้องตามกฎเกณฑ์และไวยากรณ์ของภาษาจะถูกแปล (compile) ไปเป็นภาษาระดับต่ำเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานหรือปฏิบัติตามคำสั่งได้ต่อไป ซอฟต์แวร์สมัยใหม่ส่วนมากเขียนด้วยภาษาระดับสูง แปลไปเป็นออบเจกต์โค้ด (object code) แล้วเปลี่ยนให้เป็นชุดคำสั่งในภาษาเครื่อง
ภาษาคอมพิวเตอร์อาจแบ่งกลุ่มได้เป็นอีกสองประเภทคือ ภาษาที่มนุษย์อ่านออก (human-readable)และภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออก (non human-readable) ภาษาที่มนุษย์อ่านออกถูกออกแบบมาเพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจและสื่อสารได้โดยตรงกับคอมพิวเตอร์ (แทบทุกชนิดเป็นภาษาอังกฤษ) ส่วนภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออกจะมีโค้ดบางส่วนที่ไม่อาจอ่านเข้าใจได้ แต่ออกแบบมาเพื่อให้โค้ดกระชับซึ่งคอมพิวเตอร์จะสามารถประมวลผลได้ง่ายกว่า
๓.อธิบายรูปแบบของตัวแปลได้
ตอบ การเขียนโปรแกรมของคอมพิวเตอร์เพื่อสั่งให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งได้นั้นจะต้องทำการแปลชุดคำสั่งจากภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถปฏิบัติงานตามคำสั่งได้ สามารถแบ่งได้เป็น ๓ ประเภทดังนี้
๑.แอสแซมเบลอร์
เป็นตัวแปลภาษาที่ทำหน้าที่แปลความหมายของสัญลักษณ์เขียนขึ้นโดยโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแปลความหมายของสัญลักษณ์เล่านั้นให้เป็นเลขฐานสองที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้
๒.อินเตอร์พลีเตอร์
ทำหน้าที่แปลความหมายของชุดคำสั่ง เขียนขึ้นด้วยโปรแกรมภาษาระดับสูง โดยวิธีการแปลความหมายในรูปของอินเตอร์พลีเตอร์ การอ่านคำสั่งและแปลความหมายทีละบรรทัดคำสั่ง เมื่อพบข้อผิดพลาดจะแจ้งข้อผิดพลาดให้ผู้เขียนทราบและแก้ไขได้ทันที
แต่เมื่อประมวลชุดคำสั่งเหล่านั้นแล้ว จะไม่สามารถเก็บไว้ใช้ได้อีก ถ้าต้องการที่จะเรียกใช้ในครั้งต่อไปต้องทำการประมวลชุดคำสั่งนี้ใหม่ ทำให้การทำงานของโปรแกรมค่อนข้างช้าจึงเหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่มีขนาดเล็ก
๓.คอมไพเลอร์
ทำหน้าที่แปลความหมายของชุดคำสั่งเขียนขึ้นด้วยโปรแกรมระดับสูง เช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์ แต่มีความแตกต่างกันสำหรับวิธีการแปลความหมาย เนื่องจากคอมไพเลอร์ จะอ่านชุดคำสั่งทั้งหมดและแปลความหมายของชุดคำสั่งทั้งหมดในครั้งเดียว เมื่อแปลความหมายของชุดคำสั่งทั้งหมดแล้วจะได้เป็น Object Code หรือ สัญลักษณ์ของรหัสคำสั่งที่สามารถเก็บไว้ได้เมื่อต้องการใช้งานในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องเสียเวลาในการแปลชุดคำสั่งนั้นอีก จึงเหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

๑.ให้นักเรียนหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต โดยหาความหมายของคำว่า"Open Source" และบอกซอฟต์แวร์โอเพนซอฟต์ที่รู้จักในปัจจุบันมา ๓ ชนิด
ตอบ โอเพนซอร์ซ หรือ โอเพนซอร์ส (open source) คือวิธีการในการออกแบบ พัฒนา และแจกจ่ายสำหรับต้นฉบับของสินค้าหรือความรู้ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ โดยโอเพนซอร์ซถูกพิจารณาว่าเป็นทั้งรูปแบบหนึ่งในการออกแบบ และแผนการในการดำเนินการ โดยโอเพนซอร์ซเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นไปพัฒนาได้ต่อไป
ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ เริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวภายใต้ชื่อซอฟต์แวร์เสรี (free software) ในช่วง พ.ศ. 2526 จนกระทั่งในปี 2531 คำว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซได้ถูกนำมาใช้แทนคำว่า "ฟรี" เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและให้ความรู้สึกสบายใจต่อทั้งผู้ใช้และผู้พัฒนา รวมถึงคำว่า ฟรี ในลักษณะของคำว่าเสรีนอกเหนือจากคำว่าฟรีในลักษณะไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้งานรวมถึงผู้พัฒนาสามารถนำซอฟต์แวร์มาใช้งาน แก้ไข แจกจ่าย โดยสามารถนำมาปรับปรุงทั้งในลักษณะส่วนตัว หรือในหน่วยงานเอกชนได้ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซอนุญาตให้ทุกคนสามารถนำซอฟต์แวร์ไปพัฒนา รวมถึงวางขายและทำการตลาด ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ เพิร์ล, ไฟร์ฟอกซ์, เว็บเซิร์ฟเวอร์

๒.ให้นักเรียนค้นหาซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยคนไทย และบอกคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ดังกล่าว
ตอบ +Cfont Pro โปรแกรมแสดงรูปแบบของตัวอักษร(font)
คุณสมบัติ
ง่ายต่อการใช้งาน แค่ติดตั้งโปรแกรม โปรแกรมก็จะดึงFont ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราออกมาแสดงรูปแบบให้ดู

๓.ให้นักเรียนค้นหาข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
ตอบ ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ คือลิขสิทธิ์ที่อนุญาตให้ใช้งานซอฟต์แวร์นั้นๆโดยชอบธรรมตามกฎหมาย โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ รวมถึงฟรีแวร์และโอเพนซอร์สนั้นมาพร้อมลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้นไม่ได้หมายความว่าต้องเสียเงินเสมอไป แต่ใช้เพื่ออธิบายสิทธิของผู้ใช้ว่าได้รับการอนุญาตให้ทำอะไรบ้าง
ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทตามลักษณะการคุ้มครอง ดังนี้
  • Ad ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรี แต่ก็มีการเก็บเงินบ้างเป็นบางครั้ง บวกกับการโฆษณาบนเว็บไซต์ Ad ware มีการคุ้มครองจากลิขสิทธิ์อย่างเต็มที เช่นกัน
  • Free ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรีโดยไม่มีการเสียค่าตอบแทนแต่อย่างได้ และสามารถนำโปรแกรมประเภทFree wareส่งต่อให้ผู้อื่นใช้ด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่มีการนำโปรแกรมนั้นไปขายFree ware มีการคุ้มครองน้อยหรือมีการคุมครองเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
  • Open source คือ โปรแกรมที่ทำออกมาให้ใช้ฟรี และผู้ใช้ยังสามารถร่วมกันพัฒนาโปรแกรมประเภทOpen sourceได้อีกด้วยโดยการเขียนโปรแกรมเพิ่มหรือแก่ไขโปรแกรมนั้นๆ


๔.ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่สถานศึกษาต้องจ่ายค่าลิขสิทธ์ของซอฟต์แวร์ต่างๆที่ใช้ใน
การเรียนการสอน ซึ่งนักเรียนเห็นด้วยหรือไม่
ตอบ เห็นด้วย เพราะ ในการนำซอฟต์แวร์ต่างๆ มาใช้ในสถานศึกษานั้นมีความต้องการให้นักเรียนนักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นรู้จักซอฟต์แวร์ต่างๆมากขึ้น ดังเป็นการช่วยเสริมความรู้ เพื่อพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความรู้ความสามารถด้านนี้บ้าง แต่การที่เราจะนำมาใช้ในการ้รียนการสอนนั้น เราต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์เพื่อเป็นการตอบแทนแลกเปลี่ยนให้กับผู้เป็นเจ้าของซอฟต์แวร์นั้

การรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์

การรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์
BUS มีหน้าที่ในการขนส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือสัญญานไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ ดัง นั้น BUS ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราๆ ก็คือ เส้นโลหะตัวนำสัญญานไฟฟ้ามักเป็น " ทองแดง " ที่อยู่บนแผ่นวงจรพิมพ์ต่างๆ เช่น Mainboard เป็นต้น ที่เราเห็นเป็นลายเส้น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เป็นแถบๆ หลายๆ เส้น บ้าง หรือ เป็นเส้นเดี่ยวๆ บ้าง และ BUS มีการทำงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรจึงมักเรียกว่า " ระบบบัส " หรือ " BUS SYSTEM "แล้ว BUS ทำงานอย่างไร ? เมื่อ BUS เป็นเส้นทางการส่งข้อมูลที่เป็นสัญญานไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ดังนั้นก็จะมี วงจร สำหรับควบคุมการทำงานของระบบ BUS เรียกว่า BUS Controller ซึ่งในอดีต มี Chip IC ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรงแยกออกไป ในปัจจุบัน ได้มีการ รวมวงจรควบคุม BUS นี้เข้าไว้ใน North Bridge Chip โดยที่วงจรควบคุมระบบ BUS นี้จะทำหน้าที่ จัดช่องสัญญานประเภทต่างๆให้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ บนเมนบอร์ดให้กับอุปกรณ์ที่ร้องขอใช้งาน เช่น CPU , อุปกรณ์ I/O , Port ต่างๆ เป็นต้นแล้ว BUS แบ่งออกเป็นกี่ประเภทล่ะ ? โดยทั่วไป ระบบบัส ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท กล่าวคือ
1. ADDRESS BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับแจ้งตำแหน่งหรือ ระบุตำแหน่งที่อยู่ ในระบบคอมพิวเตอร์
2. CONTROL BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับส่งการควบคุม ไปยังส่วนต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์
3. DATA BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับการส่งข้อมูลไปยังตำแหน่งที่ระบุโดย Address bus และ ถูกควบคุม โดย Control bus

อุปกรณ์แสดงผล

อุปกรณ์แสดงผล

มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ

1. อุปกรณ์แสดงผลชั่วคราว หมายถึง หน่วยที่แสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไปคะ ได้แก่ จอภาพ ลำโพง เครื่องฉายภาพ หูฟัง

2. อุปกรณ์แสดงผลถาวร หมายถึง หน่วยแสดงผลที่แสดงผลออกมาให้ผู้ใช้สามารถจับต้องได้ และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการคะ มักจะออกมาในรูปของกระดาษซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ ได้ 

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล

(1) อุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบแม่เหล็ก เช่น ฟลอปปีดิสก์ (Floppy dishs/Diskettes) ฮาร์ดดิสก์ (Hard disks) เทปแม่เหล็ก (Magnetic tape) ซิปไดรฟ์ (Zip drive) และ

(2) อุปกรณ์บันทึกข้อมูลชนิดแสง เช่น ซีดีรอม ดีวีดีรอม ซีดีอาร์ ซีดีอาร์ดับบลิว ดีวีดีอาร์ลบ ดีวีดีอาร์บวก ดีวีดีอาร์ดับบลิว และล่าสุด บลูเรย์ดิสก์

(3) อุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบดิจิตอล เช่น SD-card, MMC-card, CF-card, MS-card, Micro SD, 

อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล


อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device)
หน่วยรับข้อมูล (Input unit ) ทำหน้าที่ป้อนคำสั่งเข้าไป ซึ่งหน่วยรับข้อมูลนี้เองเปรียบเสมือน การมองเห็นของตา การได้ยินของหู การได้กลิ่นของจมูก อุปกรณ์ Input unit มีมากมายหลายหลายรูปแบบ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ 1. หน่วยป้อนข้อมูลเข้าหลัก (Primary Input) คืออุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี 2. หน่วยป้อนข้อมูลเสริม (Alternative Input) คืออุปกรณ์ที่จะมีหรือไม่ก็ได้คอมพิวเตอร์ก็สามารถทำงานได้ แต่ถ้ามีจะช่วยเพิ่มความสามารถในการป้อนข้อมูลเข้า เช่น การนำเข้ารูป เสียง เป็นต้นหน่วยป้อนข้อมูลเข้าหลัก (Primary Input) - เมาส์ (Mouse) - คีย์บอร์ด (Keyboard)
ภาพอุปกรณ์นำเข้าเมาส์ และคีย์บอร์